วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ชนิดปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยง

ประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร การประกอบธุรกิจปลาสวยงามจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการลงทุนต่ำให้ผลตอบแทนระยะเวลาสั้น จากการสอบถามผู้ประกอบการส่งออกปลาสวยงาม พบว่า การทำธุรกิจปลาสวยงามในประเทศเริ่มมาประมาณ 50 ปี โดยจะเป็นการประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ใช้แรงงานในครอบครัว ใช้สถานที่ไม่มาก ลงทุนน้อย ได้มีการพัฒนารูปแบบการเพาะเลี้ยงแตกต่างกันออกมาหลายรูปแบบตามชนิดของปลา กลุ่มปลาปอมปาดัวร์ การลงทุนค่อนข้างสูงเนื่องจาก ปลาที่เลี้ยงในตู้กระจก ใช้น้ำสะอาด และสายพันธุ์ค่อนข้างมีราคาแพงมีการว่าจ้างแรงงานเสริมในการเปลี่ยนถ่ายน้ำปลาและให้อาหารปลา ธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาปอมปาดัวร์ส่วนใหญ่จะเพาะเลี้ยงในกรุงเทพฯและเขตปริมณฑล
นอกจากนั้นมีกลุ่มเพาะเลี้ยงปลาไทยที่เน้นในเรื่องของปริมาณ ราคาต่ำ แหล่งเพาะเลี้ยงปลาส่วนใหญ่บริเวณที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำและเขตชลประทาน ได้แก่ อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ปลาส่วนใหญ่ที่นิยมเลี้ยง กาแดง ทรงเครื่อง หางไหม้ กาเผือก น้ำผึ้ง เทวดา สำหรับแหล่งที่เพาะเลี้ยงปลากัดใหญ่ที่สุดในประเทศที่อำเภอนครชัยศรี อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ปัจจุบันมีการกระจายการเพาะเลี้ยงที่ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี และนครสวรรค์ เนื่องจากความต้องการสูงประมาณ 200,000 ตัวต่อสัปดาห์ นอกจากนั้นมีปลาที่เป็นปลากินและนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่น สวาย แรด และชะโด พบว่ามีการเลี้ยงมากจังหวัด นครสวรรค์ สุพรรณบุรี อุทัยธานี และปทุมธานี
ชนิดปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยง
ปลาสวยงามที่มีการส่งออกมีประมาณ 200 ชนิด ในขณะที่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 1,500 ชนิด มีการจัดกลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มปลากัด แบ่งตามลักษณะต่างๆ ดังนี้
- ครีบหาง เช่น หางสั้น หางยาว หางมงกุฎ สองหาง หรือ หางฮาฟมูน
- สี เช่น แดง เขียว ฟ้า ฯลฯ
- เพศ เช่น เพศเมีย เพศผู้
ภาพที่ 1 ปลากัดที่มีลักษณะครีบหางแตกต่างกัน
2. กลุ่มปลาไทย ได้แก่ ปลากาแดง, ปลาทรงเครื่อง, ปลาหางไหม้, ปลาสวาย, ปลาน้ำผึ้ง

ภาพที่ 2 กลุ่มปลาไทย (จากซ้ายไปขวา ปลากาแดง ปลาทรงเครื่อง ปลาฉลามหางไหม้ ปลาหมูอารีย์)
3. กลุ่มปลาออกลูกเป็นตัว จำแนกตามลักษณะ สี ลวดลาย บนลำตัวและครีบหาง แบ่งตามชนิดปลา ได้แก่
- ปลาหางนกยูง แบ่งออกตามชนิดของสีที่ลำตัว เช่น แดง ฟ้า เขียว สีเงิน ดำ ลวดลายของสีบนครีบหาง เช่น โมเซด ทักซิโด คิงคอบร้า กราซ
- ปลาสอดมอลลี่ รวมทั้ง เซลฟิน และ บอลลูน แบ่งตามลักษณะของสี เช่นเดียวกับ แพลทตี้ และ สอด

ภาพที่ 3 กลุ่มปลาออกลูกเป็นตัว
4. กลุ่มปลากระดี่ แบ่งตามชนิดปลา ได้แก่ แรด แรดเผือก กระดี่นาง กระดี่นางฟ้า สลิด หมอตาล กระดี่ไฟ กระดี่ปากหนา กระดี่มุก กระดี่แคระ พาราไดซ์

ภาพที่ 4 กลุ่มปลากระดี่ (จากซ้ายไปขวา ปลากระดี่มุก ปลาพาราไดซ์)
5. กลุ่มปลาทอง ได้แก่ ออรันดา สิงห์ญี่ปุ่น สิงห์ตามิด ลักเล่ห์ เกล็ดแก้ว ริ้วกิ้น ตาลูกโป่ง

ภาพที่ 5 กลุ่มปลาทอง
6. กลุ่มปลาปอมปาดัวร์ แบ่งตามลวดลายและสีของลำตัว
- Brown discus ได้แก่ 5สีแดง, 5สีน้ำตาล, 5สีเหลือง
- Red turquoise ได้แก่ 7สีแดง, 7สีเขียว, 7สีบลู
- Green and blue ได้แก่ บลูเยอรมัน, บลูไดมอน
- Snake skin ได้แก่ ลายงู, ฝุ่นลายงู
- Solid pigeon blood ได้แก่ ฝุ่นทอง ฝุ่นมุก ฝุ่นแดง
- Spotted discus ได้แก่ ลายจุด

ภาพที่ 6 ปลาปอมปาดัวร์
7. กลุ่มปลาเทวดา แบ่งตามลวดลายของลำตัว ได้แก่ ม้าลาย หินอ่อน มุก ดำ ครึ่งชาติ ทอง

ภาพที่ 7 ปลาเทวดา
8. กลุ่มปลาออสการ์ แบ่งตามสีที่ปรากฏที่ลำตัว ได้แก่ ดำ ทอง เผือก ลายเสือ มีทั้งหางสั้นและหางยาว
9. กลุ่มปลาบาร์บ ได้แก่ เสือสุมาตรา, ทีบาร์บ, โรซี่บาร์บ, ปลาซิว

10. กลุ่มปลาหมอสี ได้แก่ มาลาวี, ไตรทอง, ฟลาวเวอร์ฮอร์น

11. กลุ่มปลาอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มปลาสองน้ำ, กลุ่มปลาเตทตร้า
ในจำนวนนี้มีกลุ่มของปลาที่ต้องขออนุญาตในการส่งออก ได้แก่ หมูอารีย์, ปลาติดหิน (ปลาค้างคาว), ปลาตะพัด, ปลาเสือตอ ซึ่งอยู่ในพ.ร.บ.คุ้มครอง และอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ในบัญชีไซเตส ได้แก่ ปลาช่อนยักษ์, ปลายี่สกไทย, ปลาตะพัด และปลาบึก

ปลาเสือตอ ปลาตะพัด ปลาหมูอารีย์ ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว

ปลายี่สก ปลาอะราไพม่า ปลาบึก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nicaonline.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น