วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การตลาดปลาสวยงาม

ตลาดต่างประเทศที่นำเข้าสินค้าปลาสวยงาม
+ สหรัฐอเมริกา
เป็นตลาดนำเข้าปลาสวยงามที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีมูลค่าการนำเข้าจากประเทศไทยมากที่สุด โดยมีมูลค่าประมาณ 40.8 ล้านเหรียญสหรัฐโดยปลาสวยงามที่
อเมริกานิยมนำเข้าส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก คุณภาพไม่สูงมากนัก ราคาต่ำ ปริมาณมาก เช่น ปลากัด ปลาคาร์พ ขนาดเล็ก 3-4 นิ้ว ปลาหางนกยูง ปลาทอง ปลากัด ปลาแพลทตี้ ปลาหมู ปลาออสการ์ ปลาเทวดา ปลาปอมปาดัวร์ เป็นต้น การสั่งซื้อจะเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล โดยฤดูหนาวจะมียอดนำเข้ามากในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม เพราะเป็นช่วงที่คนมักจะอยู่กับบ้านจึงนิยมเลี้ยงปลาไว้ดูเล่น
+ กลุ่มประเทศยุโรป
เป็นตลาดนำเข้าปลาสวยงามที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากสหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่าการนำเข้าปลาสวยงามทั้งสิ้นปีละ 82 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีประเทศที่นำเข้าปลาสวยงามห้าอันดับแรก คือ เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ปลาสวยงามที่นำเข้าในกลุ่มประเทศยุโรปจะค่อนข้างใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกา คือ เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ราคาต่ำ และในช่วงการสั่งปลาจะเป็นฤดูกาลเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา
+ ญี่ปุ่น
เป็นตลาดนำเข้าปลาสวยงามเป็นอันดับสามของโลก โดยมีมูลค่ากานำเข้าประมาณ 39 ล้านเหรียญสหรัฐ ปลาสวยงามที่นำเข้านั้นส่วนใหญ่จะเป็นปลาสวยงามที่มีคุณภาพสูงราคาสูง เช่น หางนกยูงที่สวยและมีคุณภาพสูงโดยจะซื้อปลาที่โตเต็มที่แล้วเนื่องจากไม่ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงปลาเพื่อให้มีขนาดโตพอที่จะสามารถโชว์ได้ นอกจากนั้น นิยมปลาแปลก ปลาที่หายาก รวมถึงพรรณไม้น้ำ มีการนำเข้าค่อนข้างมาก
ประเทศคู่แข่งการส่งออกปลาสวยงาม
+ สิงคโปร์
เป็นประเทศผู้ส่งออกปลาสวยงามที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดในโลกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดโลก โดยในปี 2000 สิงคโปร์สามารถส่งออกปลาสวยงามได้สูงถึง 43.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นผู้รับซื้อปลาสวยงามจากประเทศในแถบเอซียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาที่ถูกส่งมาจากมาเลเซียแล้วนำมาส่งต่อไปยังประเทศต่างๆ เพราะสิงคโปร์ขาดศักยภาพในการเลี้ยงปลาสวยงามเองเนื่องจากขาดพื้นที่และน้ำจืดที่ใช้ในการเลี้ยง นอกจากนี้สิงคโปร์ยังเพาะเลี้ยงปลาสวยงามที่มีราคาแพงเองเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีตามต้องการซึ่งปลาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดี คือ ปลาอะโรวาน่า ดังนั้นจึงทำให้สิงคโปร์มีต้นทุนการเลี้ยงปลาสวยงามต่ำและมีความหลากหลายของชนิดปลาสวยงามสูง ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งปลาสวยงามไปยังประเทศคู่ค้าต่ำกว่าประเทศไทยมาก
+ มาเลเซีย
ส่งออกปลาสวยงามคิดเป็นมูลค่าประมาณ 28 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์เป็นหลัก มาเลเซียเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตปลาสวยงามได้สูงเนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติมาก ทั้งทางด้านดิน น้ำ และแรงงาน ปลาสวยงามที่ผลิตได้มีประมาณ 550 ชนิด จากทั้งหมดทั่วโลกประมาณ 1,500 ชนิด ปลาที่สร้างชื่อเสียงให้มาเลเซียมากที่สุด คือ ปลาอโรวาน่า เนื่องจากมาเลเซียเป็นต้นกำเนิดของปลาชนิดนี้ และสามารถทำการขยายพันธุ์และส่งออกมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังมีปลาปอมปาดัวร์ที่มาเลเซียสามารถส่งออกได้มากด้วย มาเลเซียจัดเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย เนื่องจากมีศักยภาพดีกว่าและรัฐบาลยังให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการส่งออกอย่างจริงจัง นอกจากนี้ผู้ส่งออกของมาเลเซียยังมีพื้นฐานทางด้านภาษาดีกว่าผู้ส่งออกของไทยด้วย
+ อินโดนีเซีย
เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในการเพาะขยายพันธุ์ปลาที่ดี แต่มีระบบการจัดการไม่ดีเท่ามาเลเซีย และรัฐบาลยังให้การสนับสนุนไม่เต็มที่ เนื่องจากมักจะมีปัญหาเรื่องการเมืองตลอดเวลา ปลาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางได้แก่ปลาอโรวาน่า เพราะสามารถจับจากแหล่งน้ำธรรมชาติได้มากเนื่องจากยังมีความอุดมสมบรูณ์ของทรัพยากรธรรมชาติสูง
+ ฮ่องกง
การทำธุรกิจส่งออกของฮ่องกงจะคล้ายกับสิงคโปร์ คือรับปลาสวยงามจากประเทศอื่นแล้วนำมาส่งต่อไปยังประเทศลูกค้า ไม่ทำการเพาะพันธุ์เอง เนื่องจากขาดศักยภาพทางด้านต่างๆ แต่เนื่องจากฮ่องกงมีความได้เปรียบทางด้านความสามารถในการขายสูงจึงเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวอีกประเทศหนึ่งของไทย (กรมประมง, 2552, http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=111)

วิถีการตลาดและอธิบายเกี่ยวกับธุรกิจการค้าปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำได้
การทำธุรกิจเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาสวยงามนั้น เป็นธุรกิจที่ไม่ยุ่งยาก ขอเพียงว่ามีจิตใจเมตตา มีความอดทน เอาใจใส่ หมั่นสังเกต ในเรื่องของการลงทุนก็เป็นการลงทุนน้อย ให้ผลตอบแทนระยะสั้น และสม่ำเสมอ จะต้องมีความรู้ทางวิชาการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องบางเพื่อให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น ถ้าจะเริ่มต้นเลี้ยงปลาสวยงาม นอกจากเตรียมความพร้อมในเรื่องของจิตใจแล้ว จากนั้นมาพิจารณาในแง่ของความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาสวยงาม โดยพิจารณาประการแรกในส่วนที่เกี่ยวกับธรรมชาติของผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อเลี้ยงเป็นงานอดิเรก ซึ่งจะทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงปลาสวยงาม แบ่งได้ดังนี้
+ กลุ่มผู้นิยมเลี้ยงปลาเริ่มต้น มีส่วนแบ่งตลาดสูง แต่มีราคาต่ำ
กลุ่มนี้จะนิยมซื้อปลาที่มีราคาถูก ประมาณตัวละ 5-25 บาท ได้แก่ กลุ่มปลาออกลูกเป็นตัว เช่น หางนกยูง สอด แพลทตี้ มอลลี่ ออสการ์ ปล้องอ้อย เล็บมือนาง เสือสุมาตรา กระดี่ เทวดา คาร์พซัคเกอร์ ซิวข้างขวาน และปลาไทย เช่น กาแดง ทรงเครื่อง หางไหม้ สวาย
+ กลุ่มที่ต้องการปลาหลากหลายชนิด มีส่วนแบ่งตลาดต่ำ ราคาต่ำ แต่ต้องการขายเพื่อให้มีความหลากหลายของสินค้า ได้แก่ ปลากราย, ปลาสลาด, ปลาเทโพ
+ กลุ่มผู้นิยมปลาที่มีความชำนาญพิเศษ มีส่วนแบ่งตลาดต่ำ แต่มีราคาสูง
ผู้เลี้ยงในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นผู้ที่มีความรัก และผูกพันธ์ ความชอบเฉพาะ และมักจะนิยมปลาที่มีสีทอง ส้ม มุก มีความเชื่อในเรื่องของการนำสิ่งดีๆในแก่ชีวิตและธุรกิจ ราคาปลาที่นิยมซื้อมาเลี้ยง ตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป ได้แก่ กลุ่มปลาทอง ปลาตะพัด ปลาหมอสี ปลาปอมปาดัวร์
นอกจากนั้นเป็นผู้ที่มีความสนใจ และชอบปลาที่มีความแปลก หายาก ราคาของปลาส่วนใหญ่จะเป็นไปตามความชอบของผู้เลี้ยง เมื่อเลี้ยงปลาไประยะเวลาหนึ่ง จะพัฒนาจาการเลี้ยงปลาเป็นงานอดิเรกเปลี่ยนแปลงไปสู่การเลี้ยงปลาเพื่อเป็นธุรกิจ
ตลาดปลาสวยงาม
ตลาดขายส่งปลาสวยงามที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่ตลาดนัดซันเดย์ จตุจักร ตลาดจะเริ่มมีการเคลื่อนไหวกันตั้งแต่ตอนเช้ามืดของวันอังคารและสิ้นสุดวันพุธตอนเย็นทุกสัปดาห์ เกษตรกรจะนำปลามาจากฟาร์มโดยตรง หรืออาจจะมีผู้รวบรวมมาจากเกษตรกรนำปลามาขาย ปลาที่นำมาขายเป็นปลาที่มีอายุ 2-3 เดือนหรือขนาด 2 นิ้วขึ้นไป ผู้ขายปลีกปลาสวยงามจากทั่วประเทศมาซื้อปลาไปจำหน่ายอีกต่อหนึ่งรวมถึงบุคคลทั่วไปที่นิยมเลี้ยงปลาเป็นงานอดิเรก นอกจากนั้นมีชาวต่างชาติส่วนใหญ่มาจากตะวันออกกลาง ประมาณการขายส่งปลาสวยงามประมาณ 150,000-200,000 ตัวต่อสัปดาห์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านบาทต่อปี
+ ตลาดในประเทศ
1. เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง
2. ผู้จับปลาจากธรรมชาติ
3. ผู้รวบรวมปลาจากธรรมชาติ
4. ผู้นำเข้าปลา
5. ผู้ค้าส่ง
6. ผู้ค้าปลีก
7. ผู้เลี้ยงปลาเป็นงานอดิเรก
+ ตลาดส่งออก
1. ผู้รวบรวมปลาจากธรรมชาติ
2. ผู้รวบรวมปลาจากเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง
3. ผู้ส่งออก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น