วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การโหลดหนังสืออ่านประกอบกุ้งขาว

คุณสามารถดาวน์โหลดหนังสืออ่านประกอบการเรียน คู่มือแนวทางการจัดการสุขอนามัยและความปลอดภัยทางชีวภาพโรงเพาะฟักกุ้งขาวในประเทศไทยได้ที่ http://www.fisheries.go.th/cf-kung_krabaen/research.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แนะนำมุมปลาสวยงาม






แนะนำมุมปลาสวยงาม
ลองเข้าไปชมภาพสวยๆพร้อมทั้งเนื้อการเลี้ยงกับ Tip ปลาสวยงามวันนี้ที่ http://www.nicaonline.com

การตลาดปลาสวยงาม

ตลาดต่างประเทศที่นำเข้าสินค้าปลาสวยงาม
+ สหรัฐอเมริกา
เป็นตลาดนำเข้าปลาสวยงามที่ใหญ่ที่สุดในโลกและมีมูลค่าการนำเข้าจากประเทศไทยมากที่สุด โดยมีมูลค่าประมาณ 40.8 ล้านเหรียญสหรัฐโดยปลาสวยงามที่
อเมริกานิยมนำเข้าส่วนใหญ่เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก คุณภาพไม่สูงมากนัก ราคาต่ำ ปริมาณมาก เช่น ปลากัด ปลาคาร์พ ขนาดเล็ก 3-4 นิ้ว ปลาหางนกยูง ปลาทอง ปลากัด ปลาแพลทตี้ ปลาหมู ปลาออสการ์ ปลาเทวดา ปลาปอมปาดัวร์ เป็นต้น การสั่งซื้อจะเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล โดยฤดูหนาวจะมียอดนำเข้ามากในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม เพราะเป็นช่วงที่คนมักจะอยู่กับบ้านจึงนิยมเลี้ยงปลาไว้ดูเล่น
+ กลุ่มประเทศยุโรป
เป็นตลาดนำเข้าปลาสวยงามที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากสหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่าการนำเข้าปลาสวยงามทั้งสิ้นปีละ 82 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีประเทศที่นำเข้าปลาสวยงามห้าอันดับแรก คือ เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ปลาสวยงามที่นำเข้าในกลุ่มประเทศยุโรปจะค่อนข้างใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกา คือ เป็นปลาที่มีขนาดเล็ก ราคาต่ำ และในช่วงการสั่งปลาจะเป็นฤดูกาลเช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา
+ ญี่ปุ่น
เป็นตลาดนำเข้าปลาสวยงามเป็นอันดับสามของโลก โดยมีมูลค่ากานำเข้าประมาณ 39 ล้านเหรียญสหรัฐ ปลาสวยงามที่นำเข้านั้นส่วนใหญ่จะเป็นปลาสวยงามที่มีคุณภาพสูงราคาสูง เช่น หางนกยูงที่สวยและมีคุณภาพสูงโดยจะซื้อปลาที่โตเต็มที่แล้วเนื่องจากไม่ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงปลาเพื่อให้มีขนาดโตพอที่จะสามารถโชว์ได้ นอกจากนั้น นิยมปลาแปลก ปลาที่หายาก รวมถึงพรรณไม้น้ำ มีการนำเข้าค่อนข้างมาก
ประเทศคู่แข่งการส่งออกปลาสวยงาม
+ สิงคโปร์
เป็นประเทศผู้ส่งออกปลาสวยงามที่มีส่วนแบ่งตลาดสูงที่สุดในโลกประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดโลก โดยในปี 2000 สิงคโปร์สามารถส่งออกปลาสวยงามได้สูงถึง 43.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากสิงคโปร์เป็นผู้รับซื้อปลาสวยงามจากประเทศในแถบเอซียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาที่ถูกส่งมาจากมาเลเซียแล้วนำมาส่งต่อไปยังประเทศต่างๆ เพราะสิงคโปร์ขาดศักยภาพในการเลี้ยงปลาสวยงามเองเนื่องจากขาดพื้นที่และน้ำจืดที่ใช้ในการเลี้ยง นอกจากนี้สิงคโปร์ยังเพาะเลี้ยงปลาสวยงามที่มีราคาแพงเองเพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีตามต้องการซึ่งปลาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างดี คือ ปลาอะโรวาน่า ดังนั้นจึงทำให้สิงคโปร์มีต้นทุนการเลี้ยงปลาสวยงามต่ำและมีความหลากหลายของชนิดปลาสวยงามสูง ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการขนส่งปลาสวยงามไปยังประเทศคู่ค้าต่ำกว่าประเทศไทยมาก
+ มาเลเซีย
ส่งออกปลาสวยงามคิดเป็นมูลค่าประมาณ 28 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนใหญ่จะส่งออกไปยังประเทศสิงคโปร์เป็นหลัก มาเลเซียเป็นประเทศที่มีศักยภาพในการผลิตปลาสวยงามได้สูงเนื่องจากมีทรัพยากรธรรมชาติมาก ทั้งทางด้านดิน น้ำ และแรงงาน ปลาสวยงามที่ผลิตได้มีประมาณ 550 ชนิด จากทั้งหมดทั่วโลกประมาณ 1,500 ชนิด ปลาที่สร้างชื่อเสียงให้มาเลเซียมากที่สุด คือ ปลาอโรวาน่า เนื่องจากมาเลเซียเป็นต้นกำเนิดของปลาชนิดนี้ และสามารถทำการขยายพันธุ์และส่งออกมาเป็นเวลานาน นอกจากนี้ยังมีปลาปอมปาดัวร์ที่มาเลเซียสามารถส่งออกได้มากด้วย มาเลเซียจัดเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย เนื่องจากมีศักยภาพดีกว่าและรัฐบาลยังให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมการเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อการส่งออกอย่างจริงจัง นอกจากนี้ผู้ส่งออกของมาเลเซียยังมีพื้นฐานทางด้านภาษาดีกว่าผู้ส่งออกของไทยด้วย
+ อินโดนีเซีย
เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในการเพาะขยายพันธุ์ปลาที่ดี แต่มีระบบการจัดการไม่ดีเท่ามาเลเซีย และรัฐบาลยังให้การสนับสนุนไม่เต็มที่ เนื่องจากมักจะมีปัญหาเรื่องการเมืองตลอดเวลา ปลาที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางได้แก่ปลาอโรวาน่า เพราะสามารถจับจากแหล่งน้ำธรรมชาติได้มากเนื่องจากยังมีความอุดมสมบรูณ์ของทรัพยากรธรรมชาติสูง
+ ฮ่องกง
การทำธุรกิจส่งออกของฮ่องกงจะคล้ายกับสิงคโปร์ คือรับปลาสวยงามจากประเทศอื่นแล้วนำมาส่งต่อไปยังประเทศลูกค้า ไม่ทำการเพาะพันธุ์เอง เนื่องจากขาดศักยภาพทางด้านต่างๆ แต่เนื่องจากฮ่องกงมีความได้เปรียบทางด้านความสามารถในการขายสูงจึงเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวอีกประเทศหนึ่งของไทย (กรมประมง, 2552, http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=111)

วิถีการตลาดและอธิบายเกี่ยวกับธุรกิจการค้าปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำได้
การทำธุรกิจเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาสวยงามนั้น เป็นธุรกิจที่ไม่ยุ่งยาก ขอเพียงว่ามีจิตใจเมตตา มีความอดทน เอาใจใส่ หมั่นสังเกต ในเรื่องของการลงทุนก็เป็นการลงทุนน้อย ให้ผลตอบแทนระยะสั้น และสม่ำเสมอ จะต้องมีความรู้ทางวิชาการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องบางเพื่อให้ประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น ถ้าจะเริ่มต้นเลี้ยงปลาสวยงาม นอกจากเตรียมความพร้อมในเรื่องของจิตใจแล้ว จากนั้นมาพิจารณาในแง่ของความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงปลาสวยงาม โดยพิจารณาประการแรกในส่วนที่เกี่ยวกับธรรมชาติของผู้นิยมเลี้ยงปลาสวยงามเพื่อเลี้ยงเป็นงานอดิเรก ซึ่งจะทำให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงปลาสวยงาม แบ่งได้ดังนี้
+ กลุ่มผู้นิยมเลี้ยงปลาเริ่มต้น มีส่วนแบ่งตลาดสูง แต่มีราคาต่ำ
กลุ่มนี้จะนิยมซื้อปลาที่มีราคาถูก ประมาณตัวละ 5-25 บาท ได้แก่ กลุ่มปลาออกลูกเป็นตัว เช่น หางนกยูง สอด แพลทตี้ มอลลี่ ออสการ์ ปล้องอ้อย เล็บมือนาง เสือสุมาตรา กระดี่ เทวดา คาร์พซัคเกอร์ ซิวข้างขวาน และปลาไทย เช่น กาแดง ทรงเครื่อง หางไหม้ สวาย
+ กลุ่มที่ต้องการปลาหลากหลายชนิด มีส่วนแบ่งตลาดต่ำ ราคาต่ำ แต่ต้องการขายเพื่อให้มีความหลากหลายของสินค้า ได้แก่ ปลากราย, ปลาสลาด, ปลาเทโพ
+ กลุ่มผู้นิยมปลาที่มีความชำนาญพิเศษ มีส่วนแบ่งตลาดต่ำ แต่มีราคาสูง
ผู้เลี้ยงในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นผู้ที่มีความรัก และผูกพันธ์ ความชอบเฉพาะ และมักจะนิยมปลาที่มีสีทอง ส้ม มุก มีความเชื่อในเรื่องของการนำสิ่งดีๆในแก่ชีวิตและธุรกิจ ราคาปลาที่นิยมซื้อมาเลี้ยง ตั้งแต่ 500 บาท ขึ้นไป ได้แก่ กลุ่มปลาทอง ปลาตะพัด ปลาหมอสี ปลาปอมปาดัวร์
นอกจากนั้นเป็นผู้ที่มีความสนใจ และชอบปลาที่มีความแปลก หายาก ราคาของปลาส่วนใหญ่จะเป็นไปตามความชอบของผู้เลี้ยง เมื่อเลี้ยงปลาไประยะเวลาหนึ่ง จะพัฒนาจาการเลี้ยงปลาเป็นงานอดิเรกเปลี่ยนแปลงไปสู่การเลี้ยงปลาเพื่อเป็นธุรกิจ
ตลาดปลาสวยงาม
ตลาดขายส่งปลาสวยงามที่ใหญ่ที่สุดอยู่ที่ตลาดนัดซันเดย์ จตุจักร ตลาดจะเริ่มมีการเคลื่อนไหวกันตั้งแต่ตอนเช้ามืดของวันอังคารและสิ้นสุดวันพุธตอนเย็นทุกสัปดาห์ เกษตรกรจะนำปลามาจากฟาร์มโดยตรง หรืออาจจะมีผู้รวบรวมมาจากเกษตรกรนำปลามาขาย ปลาที่นำมาขายเป็นปลาที่มีอายุ 2-3 เดือนหรือขนาด 2 นิ้วขึ้นไป ผู้ขายปลีกปลาสวยงามจากทั่วประเทศมาซื้อปลาไปจำหน่ายอีกต่อหนึ่งรวมถึงบุคคลทั่วไปที่นิยมเลี้ยงปลาเป็นงานอดิเรก นอกจากนั้นมีชาวต่างชาติส่วนใหญ่มาจากตะวันออกกลาง ประมาณการขายส่งปลาสวยงามประมาณ 150,000-200,000 ตัวต่อสัปดาห์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 50 ล้านบาทต่อปี
+ ตลาดในประเทศ
1. เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง
2. ผู้จับปลาจากธรรมชาติ
3. ผู้รวบรวมปลาจากธรรมชาติ
4. ผู้นำเข้าปลา
5. ผู้ค้าส่ง
6. ผู้ค้าปลีก
7. ผู้เลี้ยงปลาเป็นงานอดิเรก
+ ตลาดส่งออก
1. ผู้รวบรวมปลาจากธรรมชาติ
2. ผู้รวบรวมปลาจากเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง
3. ผู้ส่งออก

ชนิดปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยง

ประเทศไทยจัดว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร การประกอบธุรกิจปลาสวยงามจึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นการลงทุนต่ำให้ผลตอบแทนระยะเวลาสั้น จากการสอบถามผู้ประกอบการส่งออกปลาสวยงาม พบว่า การทำธุรกิจปลาสวยงามในประเทศเริ่มมาประมาณ 50 ปี โดยจะเป็นการประกอบธุรกิจขนาดเล็ก ใช้แรงงานในครอบครัว ใช้สถานที่ไม่มาก ลงทุนน้อย ได้มีการพัฒนารูปแบบการเพาะเลี้ยงแตกต่างกันออกมาหลายรูปแบบตามชนิดของปลา กลุ่มปลาปอมปาดัวร์ การลงทุนค่อนข้างสูงเนื่องจาก ปลาที่เลี้ยงในตู้กระจก ใช้น้ำสะอาด และสายพันธุ์ค่อนข้างมีราคาแพงมีการว่าจ้างแรงงานเสริมในการเปลี่ยนถ่ายน้ำปลาและให้อาหารปลา ธุรกิจการเพาะเลี้ยงปลาปอมปาดัวร์ส่วนใหญ่จะเพาะเลี้ยงในกรุงเทพฯและเขตปริมณฑล
นอกจากนั้นมีกลุ่มเพาะเลี้ยงปลาไทยที่เน้นในเรื่องของปริมาณ ราคาต่ำ แหล่งเพาะเลี้ยงปลาส่วนใหญ่บริเวณที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำและเขตชลประทาน ได้แก่ อำเภอบ้านโป่ง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ปลาส่วนใหญ่ที่นิยมเลี้ยง กาแดง ทรงเครื่อง หางไหม้ กาเผือก น้ำผึ้ง เทวดา สำหรับแหล่งที่เพาะเลี้ยงปลากัดใหญ่ที่สุดในประเทศที่อำเภอนครชัยศรี อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ปัจจุบันมีการกระจายการเพาะเลี้ยงที่ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี และนครสวรรค์ เนื่องจากความต้องการสูงประมาณ 200,000 ตัวต่อสัปดาห์ นอกจากนั้นมีปลาที่เป็นปลากินและนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่น สวาย แรด และชะโด พบว่ามีการเลี้ยงมากจังหวัด นครสวรรค์ สุพรรณบุรี อุทัยธานี และปทุมธานี
ชนิดปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยง
ปลาสวยงามที่มีการส่งออกมีประมาณ 200 ชนิด ในขณะที่ทั่วโลกมีอยู่ประมาณ 1,500 ชนิด มีการจัดกลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มปลากัด แบ่งตามลักษณะต่างๆ ดังนี้
- ครีบหาง เช่น หางสั้น หางยาว หางมงกุฎ สองหาง หรือ หางฮาฟมูน
- สี เช่น แดง เขียว ฟ้า ฯลฯ
- เพศ เช่น เพศเมีย เพศผู้
ภาพที่ 1 ปลากัดที่มีลักษณะครีบหางแตกต่างกัน
2. กลุ่มปลาไทย ได้แก่ ปลากาแดง, ปลาทรงเครื่อง, ปลาหางไหม้, ปลาสวาย, ปลาน้ำผึ้ง

ภาพที่ 2 กลุ่มปลาไทย (จากซ้ายไปขวา ปลากาแดง ปลาทรงเครื่อง ปลาฉลามหางไหม้ ปลาหมูอารีย์)
3. กลุ่มปลาออกลูกเป็นตัว จำแนกตามลักษณะ สี ลวดลาย บนลำตัวและครีบหาง แบ่งตามชนิดปลา ได้แก่
- ปลาหางนกยูง แบ่งออกตามชนิดของสีที่ลำตัว เช่น แดง ฟ้า เขียว สีเงิน ดำ ลวดลายของสีบนครีบหาง เช่น โมเซด ทักซิโด คิงคอบร้า กราซ
- ปลาสอดมอลลี่ รวมทั้ง เซลฟิน และ บอลลูน แบ่งตามลักษณะของสี เช่นเดียวกับ แพลทตี้ และ สอด

ภาพที่ 3 กลุ่มปลาออกลูกเป็นตัว
4. กลุ่มปลากระดี่ แบ่งตามชนิดปลา ได้แก่ แรด แรดเผือก กระดี่นาง กระดี่นางฟ้า สลิด หมอตาล กระดี่ไฟ กระดี่ปากหนา กระดี่มุก กระดี่แคระ พาราไดซ์

ภาพที่ 4 กลุ่มปลากระดี่ (จากซ้ายไปขวา ปลากระดี่มุก ปลาพาราไดซ์)
5. กลุ่มปลาทอง ได้แก่ ออรันดา สิงห์ญี่ปุ่น สิงห์ตามิด ลักเล่ห์ เกล็ดแก้ว ริ้วกิ้น ตาลูกโป่ง

ภาพที่ 5 กลุ่มปลาทอง
6. กลุ่มปลาปอมปาดัวร์ แบ่งตามลวดลายและสีของลำตัว
- Brown discus ได้แก่ 5สีแดง, 5สีน้ำตาล, 5สีเหลือง
- Red turquoise ได้แก่ 7สีแดง, 7สีเขียว, 7สีบลู
- Green and blue ได้แก่ บลูเยอรมัน, บลูไดมอน
- Snake skin ได้แก่ ลายงู, ฝุ่นลายงู
- Solid pigeon blood ได้แก่ ฝุ่นทอง ฝุ่นมุก ฝุ่นแดง
- Spotted discus ได้แก่ ลายจุด

ภาพที่ 6 ปลาปอมปาดัวร์
7. กลุ่มปลาเทวดา แบ่งตามลวดลายของลำตัว ได้แก่ ม้าลาย หินอ่อน มุก ดำ ครึ่งชาติ ทอง

ภาพที่ 7 ปลาเทวดา
8. กลุ่มปลาออสการ์ แบ่งตามสีที่ปรากฏที่ลำตัว ได้แก่ ดำ ทอง เผือก ลายเสือ มีทั้งหางสั้นและหางยาว
9. กลุ่มปลาบาร์บ ได้แก่ เสือสุมาตรา, ทีบาร์บ, โรซี่บาร์บ, ปลาซิว

10. กลุ่มปลาหมอสี ได้แก่ มาลาวี, ไตรทอง, ฟลาวเวอร์ฮอร์น

11. กลุ่มปลาอื่นๆ ได้แก่ กลุ่มปลาสองน้ำ, กลุ่มปลาเตทตร้า
ในจำนวนนี้มีกลุ่มของปลาที่ต้องขออนุญาตในการส่งออก ได้แก่ หมูอารีย์, ปลาติดหิน (ปลาค้างคาว), ปลาตะพัด, ปลาเสือตอ ซึ่งอยู่ในพ.ร.บ.คุ้มครอง และอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอยู่ในบัญชีไซเตส ได้แก่ ปลาช่อนยักษ์, ปลายี่สกไทย, ปลาตะพัด และปลาบึก

ปลาเสือตอ ปลาตะพัด ปลาหมูอารีย์ ปลาติดหินหรือปลาค้างคาว

ปลายี่สก ปลาอะราไพม่า ปลาบึก
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nicaonline.com

บทนำปลาสวยงาม

สถานการณ์ปัจจุบันของการค้าปลาสวยงาม
การนำปลาที่มีชีวิตมาใส่เลี้ยงไว้ในภาชนะตั้งไว้ชมเล่นนั้น ได้เริ่มกันในกลุ่มประเทศทางตะวันตกมาเป็นเวลาประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว แต่เดิมมานั้นมนุษย์ใช้ปลาเป็นอาหาร เมื่อต้องการปลาเมื่อใดก็ออกไปจับมาเป็นอาหาร การออกไปจับแต่ละครั้ง นั้นย่อมเป็นการไม่สะดวกฉะนั้นเพื่อที่จะให้ปลาที่จับมาได้ แล้วนั้นมีชีวิตอยู่ ได้นานและอยู่ใกล้มือ สะดวกต่อการที่จะจับขึ้นมาใช้ประโยชน์ การเลี้ยงปลาจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่ ครั้งนั้นโดยมี การขุด สกัดไม้หรือหิน ให้เป็นอ่างขังน้ำใช้ในการเลี้ยงปลา มีความเป็นไปได้มากว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อการเลี้ยงปลาอย่าง เช่น บ่อ เป็นต้น ไม่หลงเหลือหลักฐานมาถึงปัจจุบันบ่อที่เก่า ที่สุดเท่าที่นักโบราณคดีค้นพบคือ บ่อในยุคสุเมเรีย ซึ่งมีอายุประมาณ 4,500 ปีแล้ว ส่วนใหญ่แล้วบ่อในยุคนี้เท่าที่ค้นพบจะพบในบริเวณศาสนสถานและคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนาของยุคนั้น แต่อย่างไรก็ดียังมีการค้นพบบ่อซึ่งคาดว่าเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและมีหลักฐานว่าที่ใช้เป็นที่เก็บกักขังปลา เพื่อใช้เป็นอาหารอย่างแน่นอน และจากสภาพของบ่อที่ปรากฏให้เห็นก็มิใช่บ่อเลี้ยงหรือ บ่อสำหรับเพาะพันธุ์ปลา
การค้นพบทางโบราณคดียังชี้ลงไปอีกว่าชาวอัสซีเรีย ก็มีบ่อสำหรับกักตุน ปลาเป็นอาหารสด เช่นเดี่ยวกัน และคาดว่าชาวบาลิโลนก็คงจะมีบ่อในทำนองเดียวกันนี้อีก ส่วนชาวอียิปต์โบราณเมื่อสามพันปีมาแล้ว มีบ่อสำหรับตกปลาเป็น อาหารนอกเหนือจากบ่อเลี้ยงปลา ปลาที่ชาวอียิปต์เลี้ยงในยุคนั้นคือปลาไน ซึ่งเป็นปลาในสกุลทิลาเปีย (สกุลปลานิล) และหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ก็มีคันเบ็ดที่ใช้ตกปลานั่นเอง จึงเป็นที่แน่ชัดว่าการเลี้ยง ปลาในยุคนั้นเป็นไปเพื่อการยังชีพ
การเลี้ยงปลาไว้ชมเล่นนั้น เกิดหลังจากที่ได้มีการเลี้ยงปลาไว้เป็นอาหาร โดยเมื่อการวิวัฒนาการได้เจริญรุดหน้ายิ่งขึ้น การที่จะนำปลาที่สวยงามวิจิตรพิสดารที่จับได้ ได้บั่นทอ ใช้เป็นอาหารเสียนั้นย่อมเป็นที่น่าเสียดาย ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการเลี้ยงปลาไว้เพื่อชมเล่นเกิดขึ้น และหลังจากนั้นเมื่อได้มีการคิดค้นทำกระจกขึ้นได้แล้ว การเลี้ยงปลาในตู้กระจกไว้ชมเล่น จึงได้แพร่หลายและก้าวหน้าดังที่ปรากฏอยู่ ในทุกวันนี้
ความหมายความสำคัญของปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ
ปลาสวยงาม
พรรณไม้น้ำหรือพืชน้ำ (Aquatic plants) หมายถึงพืชที่อยู่ในน้ำโดยอาจจะจมอยู่ใต้น้ำทั้งหมดหรือ โผล่บางส่วนขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ หรือเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามริมน้ำ ชายตลิ่ง นอกจากนี้ก็ยังรวมถึงพืชที่เจริญเติบโตอยู่ในบริเวณที่ลุ่มน้ำขังหรือที่ชื้นแฉะอีกด้วย
ความนิยมเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำในท้องถิ่นได้
ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่มีบันทึกว่าได้มีการเลี้ยงปลาไว้ชมเล่น ปลาที่เลี้ยงนั้นได้แก่ ปลาซึ่งเป็นต้นกำเนิดของปลาทองมีลักษณะคล้ายปลาตะเพียน ต่อมาถูกปรับปรุงพันธุ์ให้มีสีสันรูปร่างสวยงามเป็นปลาทอง ดังที่รู้จักกันในปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเพราะผู้เลี้ยงชาวญี่ปุ่นมีความพากเพียรเอาใจใส่เป็นพิเศษในเรื่องการเพาะเลี้ยงปลา ทำให้เกิด "ปลาทอง" พันธุ์สวยงามน่ารัก และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว การนำปลาจากธรรมชาติมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงภายในบ้านเพื่อความเพลิดเพลินซึ่งต่อมาก็เป็นที่รู้จักกันภายใต้ ชื่อว่า ปลาสวยงาม นั้น ยังรวมถึงปลาอื่นๆ ที่ถูกนำมาเลี้ยงเพื่อชมสวยงามด้วย
ปลาสวยงามเริ่มเป็นที่นิยมเลี้ยงกันเมื่อใดนั้น จากหลักฐานเท่าที่พบปรากฏว่าประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีการเลี้ยงปลา เจริญก้าวหน้ามากกว่าประเทศอื่นใดในซีกโลกตะวันออกนั้นเริ่มเลี้ยงปลาสวยงาม เมื่อ พ.ศ. 2468 หรือเมื่อ 85 ปี มานี้เอง ปลาสวยงามชนิดแรกที่ญี่ปุ่นเลี้ยงได้แก่ ปลาหางดาบ (Swordtails)จากนั้นอีก 2 ปี จึงค่อยเพิ่มชนิดมากขึ้น
ในประเทศไทย ก็คงเริ่มเลี้ยงปลาสวยงามกันบ้างเมื่อไม่ช้าไม่นานกว่าประเทศญี่ปุ่นเท่าใดนัก เพราะจากหลักฐาน เท่าที่พบปรากฏว่าเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2479 กรมประมงได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมแนะนำให้ปล่อยปลา Gambusia ซึ่งเป็นปลาชนิดหนึ่งที่กินยุงและเรียกกันว่าปลากินยุง ลงเลี้ยงตามบ่อและอ่างน้ำ เพื่อกำจัดยุงอันเป็นสื่อนำเชื้อ มาเลเรีย นอกจากนี้ปลาสวยงามที่มีกำเนิดในประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว เช่น ปลาซิวหางแดง ซึ่งปัจจุบันรู้จักในชื่อว่า รัสโบรา (Rasbora) ปลาข้างลาย หรือรู้จักกันในชื่อว่า เสือสุมาตรา หรือ Tiger barb และปลาทรงเครื่อง รู้จักกันในชื่อว่า Red-finned shark เมื่อระยะเริ่มแรกนั้นปลาสวยงามมีราคาแพงมาก จึงยากที่คนทั่วไปจะซื้อหามาเลี้ยงได้ การเลี้ยงปลาสวยงามในชาวบ้านทั่วไปจึงยังไม่แพร่หลายมากนัก ตรงกันข้ามกับในปัจจุบันที่การเลี้ยงปลาสวยงามกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและยังเติบโตขยายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ เป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้หลายพันล้านบาทต่อปี
https://docs.google.com/document/d/1zJHYel4PyfEUAJuT6XxOeq2_S9VNl1JG5MrXebvXfyo/edit

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข่าวใหม่วันนี้

นักศึกษาขโมยโน้ตบุ๊คอาจารย์แลกเกรด


เรื่อง นี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ภายในมหาวิทยาลัย ของรัฐแห่งหนึ่ง ไม่ขอเอ่ยนามล่ะกันครับ ซึ่งผมก็เป็นอาจารย์ที่นั่น เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อประมาณ สามวันก่อน มีอาจารย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งอยู่คนละคณะกับผม โน้ตบุค ของท่านได้หายไปจากห้องพักอาจารย์ และ อีก 1 วัน หลังจากที่โน้ตบุค หาย ก็ได้มี กระดาษแผ่นหนึ่ง พิมพ์มาติดที่หน้าห้องพักท่าน โดยมีข้อความดังภาพจากนักศึกษาและอาจารย์โต้ตอบกัน

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เนื้อหาที่เรียนในวันนี้23/11/52

สรุปบทเรียนการเลี้ยงกุ้ง1

หลังจากที่เราได้เรียนเกี่ยวกับชีววิทยาของกุ้งทะเลและกุ้งน้ำจืดไปแล้ว สัปดาห์นี้ก็จะเข้าสู่การเรียนในเรื่องของการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลกันค่ะ รวมทั้งประวัติการเพาะเลี้ยงกุ้ง ส่วนบทปฏิบัติการจำแนกประเภทกุ้งทะเลและกุ้งน้ำจืดได้ที่ http://www.khalsan.com/Foodstuff/ShrimpLibrary/How_We_Identify_Shrimp.htm อย่ากลัวภาษาอังกฤษนะคะ เพราะแค่ดูรูปก็รู้เรื่องแล้ว (555)
ชีววิทยาของกุ้งกุลาดำ ให้ดูได้ที่ http://www.khalsan.com/Foodstuff/ShrimpLibrary/Penaeus_Monodon.htm
ชีววิทยาของกุ้งก้ากราม ดูได้ที่ http://www.khalsan.com/Foodstuff/ShrimpLibrary/Macrobrachium_Rosenbergii.htm
ส่วนกุ้งขาวแวนนาไม ให้อ่านที่นี่ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7 คราวนี้เป็นภาษาไทยจ๊ะ