วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บทนำปลาสวยงาม

สถานการณ์ปัจจุบันของการค้าปลาสวยงาม
การนำปลาที่มีชีวิตมาใส่เลี้ยงไว้ในภาชนะตั้งไว้ชมเล่นนั้น ได้เริ่มกันในกลุ่มประเทศทางตะวันตกมาเป็นเวลาประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว แต่เดิมมานั้นมนุษย์ใช้ปลาเป็นอาหาร เมื่อต้องการปลาเมื่อใดก็ออกไปจับมาเป็นอาหาร การออกไปจับแต่ละครั้ง นั้นย่อมเป็นการไม่สะดวกฉะนั้นเพื่อที่จะให้ปลาที่จับมาได้ แล้วนั้นมีชีวิตอยู่ ได้นานและอยู่ใกล้มือ สะดวกต่อการที่จะจับขึ้นมาใช้ประโยชน์ การเลี้ยงปลาจึงเริ่มขึ้นตั้งแต่ ครั้งนั้นโดยมี การขุด สกัดไม้หรือหิน ให้เป็นอ่างขังน้ำใช้ในการเลี้ยงปลา มีความเป็นไปได้มากว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อการเลี้ยงปลาอย่าง เช่น บ่อ เป็นต้น ไม่หลงเหลือหลักฐานมาถึงปัจจุบันบ่อที่เก่า ที่สุดเท่าที่นักโบราณคดีค้นพบคือ บ่อในยุคสุเมเรีย ซึ่งมีอายุประมาณ 4,500 ปีแล้ว ส่วนใหญ่แล้วบ่อในยุคนี้เท่าที่ค้นพบจะพบในบริเวณศาสนสถานและคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางศาสนาของยุคนั้น แต่อย่างไรก็ดียังมีการค้นพบบ่อซึ่งคาดว่าเป็นกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและมีหลักฐานว่าที่ใช้เป็นที่เก็บกักขังปลา เพื่อใช้เป็นอาหารอย่างแน่นอน และจากสภาพของบ่อที่ปรากฏให้เห็นก็มิใช่บ่อเลี้ยงหรือ บ่อสำหรับเพาะพันธุ์ปลา
การค้นพบทางโบราณคดียังชี้ลงไปอีกว่าชาวอัสซีเรีย ก็มีบ่อสำหรับกักตุน ปลาเป็นอาหารสด เช่นเดี่ยวกัน และคาดว่าชาวบาลิโลนก็คงจะมีบ่อในทำนองเดียวกันนี้อีก ส่วนชาวอียิปต์โบราณเมื่อสามพันปีมาแล้ว มีบ่อสำหรับตกปลาเป็น อาหารนอกเหนือจากบ่อเลี้ยงปลา ปลาที่ชาวอียิปต์เลี้ยงในยุคนั้นคือปลาไน ซึ่งเป็นปลาในสกุลทิลาเปีย (สกุลปลานิล) และหลักฐานที่หลงเหลืออยู่ก็มีคันเบ็ดที่ใช้ตกปลานั่นเอง จึงเป็นที่แน่ชัดว่าการเลี้ยง ปลาในยุคนั้นเป็นไปเพื่อการยังชีพ
การเลี้ยงปลาไว้ชมเล่นนั้น เกิดหลังจากที่ได้มีการเลี้ยงปลาไว้เป็นอาหาร โดยเมื่อการวิวัฒนาการได้เจริญรุดหน้ายิ่งขึ้น การที่จะนำปลาที่สวยงามวิจิตรพิสดารที่จับได้ ได้บั่นทอ ใช้เป็นอาหารเสียนั้นย่อมเป็นที่น่าเสียดาย ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการเลี้ยงปลาไว้เพื่อชมเล่นเกิดขึ้น และหลังจากนั้นเมื่อได้มีการคิดค้นทำกระจกขึ้นได้แล้ว การเลี้ยงปลาในตู้กระจกไว้ชมเล่น จึงได้แพร่หลายและก้าวหน้าดังที่ปรากฏอยู่ ในทุกวันนี้
ความหมายความสำคัญของปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำ
ปลาสวยงาม
พรรณไม้น้ำหรือพืชน้ำ (Aquatic plants) หมายถึงพืชที่อยู่ในน้ำโดยอาจจะจมอยู่ใต้น้ำทั้งหมดหรือ โผล่บางส่วนขึ้นมาอยู่เหนือน้ำ หรือเป็นพืชที่ขึ้นอยู่ตามริมน้ำ ชายตลิ่ง นอกจากนี้ก็ยังรวมถึงพืชที่เจริญเติบโตอยู่ในบริเวณที่ลุ่มน้ำขังหรือที่ชื้นแฉะอีกด้วย
ความนิยมเลี้ยงปลาสวยงามและพรรณไม้น้ำในท้องถิ่นได้
ประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่มีบันทึกว่าได้มีการเลี้ยงปลาไว้ชมเล่น ปลาที่เลี้ยงนั้นได้แก่ ปลาซึ่งเป็นต้นกำเนิดของปลาทองมีลักษณะคล้ายปลาตะเพียน ต่อมาถูกปรับปรุงพันธุ์ให้มีสีสันรูปร่างสวยงามเป็นปลาทอง ดังที่รู้จักกันในปัจจุบัน ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีการพัฒนาสายพันธุ์ปลาทองที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเพราะผู้เลี้ยงชาวญี่ปุ่นมีความพากเพียรเอาใจใส่เป็นพิเศษในเรื่องการเพาะเลี้ยงปลา ทำให้เกิด "ปลาทอง" พันธุ์สวยงามน่ารัก และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว การนำปลาจากธรรมชาติมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงภายในบ้านเพื่อความเพลิดเพลินซึ่งต่อมาก็เป็นที่รู้จักกันภายใต้ ชื่อว่า ปลาสวยงาม นั้น ยังรวมถึงปลาอื่นๆ ที่ถูกนำมาเลี้ยงเพื่อชมสวยงามด้วย
ปลาสวยงามเริ่มเป็นที่นิยมเลี้ยงกันเมื่อใดนั้น จากหลักฐานเท่าที่พบปรากฏว่าประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มีการเลี้ยงปลา เจริญก้าวหน้ามากกว่าประเทศอื่นใดในซีกโลกตะวันออกนั้นเริ่มเลี้ยงปลาสวยงาม เมื่อ พ.ศ. 2468 หรือเมื่อ 85 ปี มานี้เอง ปลาสวยงามชนิดแรกที่ญี่ปุ่นเลี้ยงได้แก่ ปลาหางดาบ (Swordtails)จากนั้นอีก 2 ปี จึงค่อยเพิ่มชนิดมากขึ้น
ในประเทศไทย ก็คงเริ่มเลี้ยงปลาสวยงามกันบ้างเมื่อไม่ช้าไม่นานกว่าประเทศญี่ปุ่นเท่าใดนัก เพราะจากหลักฐาน เท่าที่พบปรากฏว่าเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2479 กรมประมงได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ส่งเสริมแนะนำให้ปล่อยปลา Gambusia ซึ่งเป็นปลาชนิดหนึ่งที่กินยุงและเรียกกันว่าปลากินยุง ลงเลี้ยงตามบ่อและอ่างน้ำ เพื่อกำจัดยุงอันเป็นสื่อนำเชื้อ มาเลเรีย นอกจากนี้ปลาสวยงามที่มีกำเนิดในประเทศไทย เป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว เช่น ปลาซิวหางแดง ซึ่งปัจจุบันรู้จักในชื่อว่า รัสโบรา (Rasbora) ปลาข้างลาย หรือรู้จักกันในชื่อว่า เสือสุมาตรา หรือ Tiger barb และปลาทรงเครื่อง รู้จักกันในชื่อว่า Red-finned shark เมื่อระยะเริ่มแรกนั้นปลาสวยงามมีราคาแพงมาก จึงยากที่คนทั่วไปจะซื้อหามาเลี้ยงได้ การเลี้ยงปลาสวยงามในชาวบ้านทั่วไปจึงยังไม่แพร่หลายมากนัก ตรงกันข้ามกับในปัจจุบันที่การเลี้ยงปลาสวยงามกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและยังเติบโตขยายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ เป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้หลายพันล้านบาทต่อปี
https://docs.google.com/document/d/1zJHYel4PyfEUAJuT6XxOeq2_S9VNl1JG5MrXebvXfyo/edit

1 ความคิดเห็น:

  1. ปลาที่อยู่ในบัญชีสงวนและคุ้มครอง พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และ CITES อนุสัญญาว่าด้วยการค้าสัตว์ป่าและพรรณพืชระหว่างประเทศ
    ปลาตะพัด
    ปลาบึก
    ปลาหมูอารีย์
    ปลาติดหิน

    ตอบลบ